“สามก๊ก” เป็นผลงานของนักปราชญ์จีนที่มีนามว่า “หลอ กว้าน จง” ได้ประพันธ์ขึ้นเมื่อหลายร้อยปีแล้ว ด้วยเนื้อเรื่องที่มีสาระทรงคุณค่าทำให้คนทั่วโลกยกย่องว่า เป็นวรรณกรรมเอกของโลก หรือประดิษฐกรรมอันยิ่งใหญ่จากปลายปากกาของมนุษย์ สามก๊ก ได้แสดงถึงภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในยุคสมัยหนึ่ง นับเป็นสุดยอดแห่งตำราพิชัยสงครามทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น เป็นแหล่งรวมสรรพศาสตร์และศิลป์ทางการบริหาร เป็นที่รวมของกุศโลบาย และเล่ห์เพทุบายในการทำศึก นับว่ารวมทั้งความดีและความชั่วทั้งปวงของมนุษย์ ควรค่าแก่การใส่ใจศึกษา
ด้วยอรรถรสที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขับเคี่ยวในศึกสงคราม การใช้เล่ห์เพทุบายอันเหนือชั้นเพื่อให้ได้สิ่งที่ปรารถนา ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ อาทิ เจ้านายและลูกน้อง ครอบครัว เพื่อนพ้อง หรือ แม้แต่ศัตรูคู่อาฆาต จึงทําให้สามก๊กเผยให้เห็นทุกมุมมองความเป็น มนุษย์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะความเป็นไปของผู้คนในวังวนแห่ง สงคราม ที่แยกชัดเจนไปไม่ได้ว่ากลุ่มใดจะดีหรือร้ายโดยฝ่ายเดียว จึง เป็นสีสันอันโดดเด่นของสามก๊ก ที่ทุกตัวละครต้องกลั่นความรู้ ขุดความ สามารถทั้งหมดที่มีเข้าชิงชัย เพื่อให้ได้มาซึ่งความอยู่รอดและก้าวสู่ ความยิ่งใหญ่
กลยุทธ์ในวรรณกรรมเรื่องนี้มีหลากหลายกรณีสามารถนํามา เชื่อมโยงกับทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ได้สอดคล้องลงตัว จะได้รับความสนุกสนานจากการอ่านแล้ว น่าจะ ได้มุมมองการบริหารที่ประยุกต์ใช้กับการทํางานในปัจจุบันได้เป็น อย่างดี ดังนั้น “ใครก็ตามที่ไม่เคยอ่านสามก๊ก อย่าริอ่านคิดทำการใหญ่ และใครก็ตามถ้าได้อ่านสามก๊กจบสามเที่ยว คนผู้นั้นคบไม่ได้” อะไรเป็นมูลเหตุจูงใจให้เกิดคำกล่าวนี้ ค้นหาความจริงได้จากหนังสือเล่มนี้ การอ่านสามก๊กให้เข้าใจนับว่ายากแล้ว แต่การเขียนให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจนั้นยากยิ่งกว่า “กลั่นสามก๊ก ฉบับบริหาร” คงต้องถูกยกเว้นในคำกล่าวนั้น เพราะเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงไว้ในแต่ละบทเนื้อหากระชับได้ใจความ ส่วนท้ายบทยังมีคติบริหารนับเป็นบทสรุปที่ดีและทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น