นวนิยายไตรภาคเรื่องนี้มี 3 ตอน คือ บายน์ อัลกัสรายน์, กัสร์ อัลชอว์ก และ อัลซัค คาริยะห์ ในภาคภาษาอังกฤษใช้ว่า “พาเลซวอร์ค” (Palace Walk), “พาเลซออฟดีไซร์”> (Palace of Desire) และ “ชูการ์สตรีท” (Sugar street) พิมพ์เป็นภาษาอาหรับปี พ.ศ. 2500 และพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2533 พาเลซวอล์ค ลำเลียงพวกเราไปดูชีวิตของ ครอบครัวไคโร ขณะอียิปต์ถูกอังกฤษยึดครองในช่วงปี พ.ศ. 2503
พาเลซวอล์ค เป็นชื่อถนน น่าจะเทียบได้กับราชดำเนิน ทอดตัวอยู่ระหว่างพระราชวังที่ ทรุดโทรมสาบสูญไปนานแล้วสองแห่ง เป็นอุปมาอันทรงพลังของนวนิยายอันยิ่งใหญ่ยอดเยี่ยม เรื่องนี้ แสดงให้เห็นชีวิตของตัวละครทั้งสองด้าน นั่นคือ โลกแห่งความจริงอันรุนแรงกับจิตใจ อันเปราะบาง ความเกรี้ยวกราดอย่างฉับพลันของการเมืองกับความมีเสน่ห์อันเย้ายวนของสังคม ที่เคลื่อนจากจารีตประเพณีมาสู่ความทันสมัย
พาเลซออฟดีไซร์ น่าจะเทียบได้กับราชประสงค์หรือราชปรารภ ส่วน ชูการ์สตรีท น่าจะเทียบได้ กับซอยสายน้ำผึ้งบนถนนสุขุมวิท
มาร์ฟูซชี้ให้เห็นทัศนะของชาวมุสลิมผู้เคร่งครัดต่อการครองเรือน ตั้งแต่ยุคที่ภรรยาอยู่ใต้อำนาจ สามี จนถึงยุคที่สตรีเกือบจะทัดเทียมกับบุรุษ ความขัดแย้งระหว่างสังคมกับการเมืองในช่วงที่ มีการเคลื่อนไหว การขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวกับความภักดีต่อระบบที่ประกอบด้วย พฤติกรรมและศรัทธา การขัดแย้งระหว่างฝ่ายคัดค้านกับฝ่ายสนับสนุนระบอบกษัตริย์ การขัด แย้งระหว่างการก้มหัวสยบกับการเงยหน้าทักทายอังกฤษ-นักล่าอาณานิคมมือวางอันดับหนึ่ง
นากิบ มาห์ฟูซ ใช้เวลาเขียน “โคตรไคโร” ถึง 7 ปี และกว่าจะได้พิมพ์อีก 5 ปี เขากล่าวว่า เป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่่างขนบประเพณีบางอย่างที่โอ่อ่าแต่น่าอึดอัดฝ่ายหนึ่ง กับเสรีภาพ ในรูปแบบทางความคิดและทางการเมืองที่ล้นหลามหลากหลายอีกฝ่ายหนึ่ง