วิกฤตการณ์การเงินการคลังที่เรื้อรัง กอปรกับความล้มเหลว ของรัฐบาลพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ (ค.ศ. ๑๗๑๕-๑๗๕๔) และพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๖ (ค.ศ. ๑๗๕๔-๑๗๙๓) ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ ได้ ทั้งราชสำนักก็ยังคงความหรูหราฟุ่มเฟือยและงานเลี้ยงที่ไม่มีวันสิ้นสุด ส่งผลต่อความนิยมรัฐบาลลดน้อยลงทุกขณะซึ่งนําไปสู่การเคลื่อนไหว เรียกร้องให้เปิดประชุมสภาฐานันดรแห่งชาติซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้าย ใน ค.ศ. ๑๖๑๔ หรือเมื่อ ๑๗๕ ปีมาแล้ว เพื่อหามาตรการแก้ไข เศรษฐกิจที่กําลังทรุดหนัก แต่การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้กลับแล้วทางไป สู่การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ การปฏิวัติฝรั่งเศสจึงเป็นหัวเลี้ยว หัวต่อสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมของฝรั่งเศสและยุโรป
สมัยการปกครองระบอบเก่าซึ่งยึดถือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์การให้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ แก่คนบางกลุ่มตามสถานะและชาติกำเนิด และอื่น ๆ กําลังถูกแนวความคิดประชาธิปไตยที่มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ ท้าทายและต่อต้านอย่างรุนแรงจนนําไปสู่การจัดระเบียบ การเมืองใหม่ที่ระบบอภิสิทธิ์ถูกยกเลิกและการมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน รูปแบบการปกครองเปลี่ยนแปลงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ จักรวรรดิและสาธารณรัฐในท้ายที่สุด