นวนิยายเรื่องนี้ “เหล่าเส้อ” ได้ประพันธ์ ขึ้นเพื่อเปรียบเทียบชีวิตในสังคมของจีนสมัยปฏิวัติให้เห็นความเหลื่อมล้ำต่ำสูง นำเอาชีวิตของสามัญชนผู้ตรงเข้าสู่อาชีพลากรถด้วยความแน่ใจว่าจะเป็นที่ยึดมั่นอันเหนียวแน่นของเขา เขาไม่ได้ยิ่งใหญ่ถึงกับเป็นตัวแทนของคนลากรถทั้งปักกิ่ง แต่เป็นแบบอย่างของคนยากจนที่ถูกสั่งคมเมืองอันสับสนวุ่นวายดัดแปลง กระทั่งกลายสภาพจาก ‘คน’ เป็นเพียง ‘วัตถุ’ และ ‘เครื่องประดับ’ ชิ้นหนึ่งท่ามกลางความเป็นไปเหล่านั้น…
การหากินเพื่อปากท้องของคนจน นอกจากการแสดงภาพชีวิตอันยากไร้ ดังกล่าวแล้ว ผู้ประพันธ์ยังได้แสดงให้เห็นการต่อสู้ ระหว่างกําลังใจกับชะตากรรม ตั้งแต่หน้าแรกจน หน้าสุดท้าย ชัยชนะจะเป็นของฝ่ายใด ท่านจะทราบ ได้เองเมื่ออ่านจบแล้ว
นวนิยายเรื่องนี้ เดิมมีชื่อว่า “นายอูฐเสียงจื่อ” ภายหลังมีผู้นําไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ ให้ชื่อว่า The Rickshaw Man มีความหมายว่า “คนลากรถ” ซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อเรื่องในพากย์แปล เป็นไทยฉบับนี้
เนื่องจากนวนิยายเรื่อง “คนลากรถ” ได้ถูกนําไปตีพิมพ์และ สร้างเป็นภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุให้ผู้ประพันธ์เรื่องนี้ ได้รับความนิยมยกย่องเป็นอย่างสูง และได้รับเชิญไปเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับศิลปะการประพันธ์อยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ เป็นเวลาประมาณสองปี ภาพยนตร์เรื่อง “คนลากรถ” นี้ ได้เคยเข้ามาฉาย ในประเทศไทยเมื่อหลายปีมาแล้ว
เหล่าเส้อ : เขียน
“เนียน” : แปล