ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำ (A Brief History of Equality) ผลงานโดยโทมัส พิเก็ตตี ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์, ผู้อำนวยการศูนย์ School of Advanced Studies in the Social Sciences และผู้อำนวยการร่วมห้องปฏิบัติการ World Inequality Lab) เคยสร้างงานสั่นสะเทือนสังคมอย่าง ‘ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21’ (Capital in the Twenty-First Century) (2013) ที่อธิบายกลไกการสะสมและการเปลี่ยนแปลงของทุน และ Capital and Ideology (2019) อธิบายบทบาทของอุดมการณ์ที่ผลิตจากสังคมที่แตกต่างจะส่งผลต่อการก่อร่างสร้างการสะสมทุนและความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างไร อย่างไรก็ตามงานดังกล่าวก็มีข้อเสนอเกริ่นนำเพียงเล็กน้อยในการหาทางออกของความเหลื่อมล้ำของทุนนิยมในศตวรรษที่ 21
ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำคือส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจากงานเก่าอย่าง Capital and Ideology (2019) โดยกล่าวถึงความสำคัญของแนวคิดอุดมการณ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับความเหลื่อมล้ำ อุดมการณ์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกันตามค่านิยมสังคม ประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งอุดมการณ์จะเป็นตัวครอบงำความคิดและพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมว่า ลักษณะแบบใดเป็นเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม อุดมการณ์เป็นสิ่งที่แปรผันไปตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา และสร้างมายาคติว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งธรรมชาติและถูกต้องแล้ว
อีกทั้งยังเสนอทางออกจากความเหลื่อมล้ำของระบอบทุนนิยม โดยพิเก็ตตีเคยให้สัมภาษณ์ว่า Capital in the Twenty-First Century จะเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่เขาจะใช้กรอบของตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการเขียนที่ใช้กระบวนการวิจัย ทฤษฎี รวมถึงข้อมูลจากมุมมองของการสะสมองค์ความรู้แบบตะวันตก ดังนั้นในประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำเล่มนี้เขาได้ทลายกรอบมุมมองดังกล่าวแล้ว รวมถึงยังทลายมายาคติที่ว่า “ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์” เพราะสำหรับพิเก็ตตีแล้วความเหลื่อมล้ำเป็น “ผลผลิตร่วมของ ประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม” ที่ทุกคนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
Thomas Piketty (พิเก็ตตี, โทมัส)
นรินทร์ องค์อินทรี : แปล