รัตนาวดี เป็นผลงานของ ว.ณ ประมวญมารค (พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ที่มีผลงานมาแล้วมากมาย และยังมีผลงานเป็นที่ตื่นตาตื่นใจและเป็นที่รู้จักของผู้อ่านหลายๆ คน คือ ชุดปริศนา, เจ้าสาวของอานนท์, รัตนาดี ทั้ง 3 เล่ม ถือเป็นนวนิยายอมตะ ที่ถูกเขียนขึ้นช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงทำให้ตัวละคร มีกลิ่นอายของความเป็นหญิงกุลสตรีในสมัยนั้น และเนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต หรือ ว.ณ ประมวญมารค ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สำนักพิมพ์แสงดาว จึงได้ร่วมฉลองในวาระนี้ด้วยการจัดพิมพ์นวนิยายชุด ปริศนา เจ้าสาวของอานนท์ และ รัตนาวดี ขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในพระประวัติของพระองค์กว่าครั้งที่ผ่านมาอีกด้วย
รัตนาวดี เป็นเรื่องสุดท้ายในนวนิยายชุดปริศนา โดยใช้ตัวละครชุดเดียวกันและต่อเนื่องกัน แต่เรื่องรัตนาวดีนั้นแทบจะมิได้ใช้ตัวละครหลักมากเหมือนเรื่องปริศนา และ เจ้าสาวของอานนท์ หากจะใช้ก็เหมือนนำตัวละครประกอบขึ้นมาเป็นตัวหลักในเรื่องนี้ หม่อมเจ้าหญิงรัตนาวดี ป้าสร้อย พระพี่เลี้ยง “ท่านหญิงรัตนาวดี” วิมลราชพัลลภน้องสาวของประวิช ราชพัลลภ และ นพน้องชายของอานนท์ วิทยาธร ส่วนหม่อมเจ้าพจนปรีชาและหม่อมปริศนา เป็นเพียงกล่าวถึงเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มตัวละครเอก คือหม่อมเจ้าดนัยวัฒนาพระสหายสนิทของหม่อมเจ้าพจนปรีชา และต่อมาถูกท่านหญิงรัตนาวดีทรงเข้าใจผิดว่าเป็นนายเล็กมหาดเล็กของ “ท่านชายดนัย” และตัวละครอื่นๆ ให้เกิดสีสันสนุกสนาน คือ เก็จกำหงง ประพัทธ์ และสะอาดศรี สามคนพ่อลูกที่ขอเข้าร่วมขบวนในทริปท่องเที่ยวยุโรปครั้งนี้ด้วย
เนื้อหาของรัตนาวดี ไม่เกี่ยวข้อกับปริศนา และเจ้าสาวของอานนท์เลยแต่หากเป็นเรื่องรักโรแมนติกระกว่างหม่อมเจ้าหญิงรัตนาวดีและหม่อมเจ้านัยวัฒนาเท่านั้น และเป็นเรื่องกึ่งนวนิยายกึ่งสารคดีท่องเที่ยวเนื่องจาก ว.ณ ประมวญมารค ต้องการ “อยากจะเล่าเรื่องการท่องเที่ยวครั้งแรก แต่ไม่ชอบเขียนแบบท่องเที่ยวธรรมดาจึงหาหนทางทำให้เป็นเรื่องอ่านเล่น โดยมีพระเอกและตัวประกอบเรื่อง โดยใช้สถานที่ท่องเที่ยวครั้งนั้นเป็นแบ็กกราวนด์