ชีวประวัติ คือการบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญของบุคคลในช่วงชีวิตหนึ่ง ซึ่งแต่ละจังหวะชีวิตของคนคนนั้นอาจจะมีเรื่องราวมากมายที่ทั้งน่าจดจำและไม่น่าจดจำ ฉะนั้น การบันทึกเรื่องชีวประวัติบุคคลสำคัญ มักจะนิยมเขียนถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีประวัติครอบครัว การศึกษา การทำงาน แนวความคิดที่มีโลกทรรศน์ในการมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นเช่นไร และได้ทำคุณประโยชน์มากน้อยแค่ใด เป็นต้น
ในประเทศไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ น่าจะทรงเป็นพระองค์แรกที่ทรงเขียนชีวประวัติบุคคลในพระราชวงศ์ไทย ซึ่งมีทั้งพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รวมทั้งนักปราชญ์ราชบัณฑิต คหบดี และคนมีชื่อเสียงในสังคมไทยที่ทำงานรับใช้แผ่นดิน ซึ่งในยุคต่อๆ มา บุคคลสำคัญเหล่านี้ต่างถูกหยิบยกมาเขียนอย่างแพร่หลายมากมาย ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล่าจากปู่ ย่า ตา ยาย กระทั่งการค้นคว้าเอกสารทั้งเก่าและใหม่ของทางราชการ
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาคได้แก่
1.บุรุษเรืองนาม มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ พระราชวงศ์ฝ่ายหน้า และนักปราชบัณฑิต ที่ต่างทำคุณต่อประเทศชาติมากกว่าผประโยชน์ส่วนตน เช่น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรฯ สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกร พระบรมราชชนก และพระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ เป็นต้น
2.นารีเรืองนาม เป็นเรื่องราวของพระอัครมเหสี พระมเหสี และพระเจ้าลูกเธอ รวมทั้งราชวงศ์ฝ่ายใน เช่น พระวิสุทธิกษัตริย์ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมเด็จพระยาสุดารัตนราชประยูร สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมาชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น